วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Cloud Computing

 การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น

นิยามความหมายของคำหลักๆ3คำที่เกี่ยวข้องกับCloud computing

-ความต้องการ (Requirement)คือ โจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหาหรือตอบปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนดได้
- ทรัพยากร(Resource)หมายถึง ปัจจัยหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้
-บริการ(service)ถือว่าเป็นทรัพยากรและในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud computingแล้ว

ความหมายCloud computing

สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความ "cloud" ว่า มันเป็นอุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆกล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวมในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้ ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากรโดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน

การบริการบนระบบ

การบริการบนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสามารถ แบ่งรูปแบบของชั้น ดังนี้

การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS)
จะให้บริการการประมวลผลแอปพลิเคชันที่แม่ข่ายของผู้ให้บริการ และเปิดให้การบริการทางด้านซอฟต์แวร์ต่างๆ

การให้บริการแพลตฟอร์ม หรือ Platform as a Service (PaaS)
เป็นการประมวลผล ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ และการสนับสนุนเว็บแอปพลิเคชันเข้ามาร่วมด้วย

การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS)
เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน มีประโยชน์ในการประมวลผลทรัพยากรจำนวนมาก

บริการระบบจัดเก็บข้อมูล หรือ data Storage as a Service (dSaaS)
ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ไม่จำกัด รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง

บริการร่วมรวมลำดับความเชื่อมโยง หรือ Composite Service (CaaS)
คือส่วนทำหน้าที่รวมโปรแกรมประยุกต์ หรือจัดลำดับการเชื่อมโยงแบบ workflow ข้ามเครือข่าย รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัย

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กับ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร

ข้อแตกต่างระหว่าง การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) และ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร (Grid Computing) กล่าวคือ การประมวผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งบันทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร โดยจะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า องค์กรเสมือน (Virtual organization) โดยทั้งสองอย่างนี้จะเหมือนกันมาก ในแง่ที่เป็นการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์หลายตัว จนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ระบบไม่ต้องมีทรัพยากรที่มากไป มีลักษณะเป็นธิน ไคลเอน (Thin client) โดยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเน้นผู้ใช้เป็นหลัก ส่วนเครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร จะเน้นไปที่ระบบมากกว่า

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี DLNA

DLNA มาจากคำว่า Digital Living Network Alliance  ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยจะใช้งานได้นั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้

เทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นี้เอง  ปัจจุบันนี้มีสมาชิก  245 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น  ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง Samsung  ที่ใช้ชื่อว่า  Allshare  และ LG ก็ใช้อีกชื่อคือ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้


ประโยชน์ของ DLNA


คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้ แต่ถ้าเราจะได้ใช้เทคโนโลยี DLNA …smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ  คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet  หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง  Wi-Fi เดียวกันกับทีวีด้วย

อุปกรณ์ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว

ซึ่งเท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน

ตามทฤษฏี DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ
DMC (Digital Media Controllers) : อุปกรณ์ควบคุมการเล่นและดึงไฟล์ Media จาก Server (DMS)
DMS (Digital Media Servers) : ทำอุปกรณ์ของตัวเองเป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆ (Server) ให้อุปกรณ์ตัวอื่นดึงไฟล์ของเราไปใช้งานได้
DMR (Digital Media Renderers) : มีอุปกรณ์ (DMC) มาควบคุมเราในการใช้งานตัวอย่างเช่น ทีวี, รับเสียง / วิดีโอแสดงภาพและลำโพงระยะไกล สำหรับการฟังเพลง
DMP (Digital Media Players) : อุปกรณ์ของเราเป็นตัวดึงข้อมูลจาก Server (DMS) เพื่อมาแสดงผลได้แก่ โทรทัศน์ สเตอริโอ home theater จอภาพแบบไร้สาย และเกมคอนโซล